กฎจราจรสำหรับการทำใบขับขี่ฝรั่งเศส
วันอังคารที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2559
การสมัครสอบใบขับขี่ในฝรั่งเศสภาคทฤษฎี ( le code)
การสอบใบขับขี่ในฝรั่งเศสนั้น อันดับแรกคือการขอหมายเลขประจำตัวผู้สมัครสอบ หรือ หมายเลข NEPH (Numéro d'Enregistrement Préfectoral Harmonisé) ซึ่งหมายเลขนี้มีความสำคัญก็คือเพื่อใช้อ้างอิงในการสอบ การตรวจผลการสอบ เป็นต้น
ซึ่งการจะขอหมายเลข NEPH นั้น แบ่งเป็น 2 กรณี
1.ถ้าสมัครผ่านทางโรงเรียนแล้ว ก็เดินไปขอ หมายเลข NEPH กับทาง secrétaire ของโรงเรียนได้เลย เพราะทางโรงเรียนได้ยื่นเอกสารขอหมายเลขกับ DDT แทนแล้ว
2. ถ้าไม่ได้สมัครกับทางโรงเรียน ให้สมัครแบบผู้สมัครอิสระ หรือ candidate libre ยื่นเอกสารด้วยตนเองหรือส่งทางไปรษณีย์แล้วแต่เขตว่าต้องติดต่อที่ไหน ส่วนใหญ่จะเป็นแผนก DDT (la direction départementale des territoires) สังกัด préfecture หรือ sous-préfecture สามารถ search หาที่อยู่และหมายเลขโทรศัพท์จาก google ได้ บางเขตต้องยื่นผ่านแผนก service des permis de conduire ต้องศึกษาดูโดยการโทรไปถามรายละเอียด หรือเดินเข้าไปติดต่อด้วยตนเอง
การขอหมายเลข NEPH นั้นมีเอกสารประกอบคร่าวๆดังนี้
1.titre de séjour ถ่ายเอกสาร ด้านหน้า และด้านหลัง
2.รูปถ่าย 3 รูป (ถ่ายกับตู้ที่ใช้ถ่ายรูปติด titre de séjour) ด้านหลังรูปทุกรูปให้เขียนชื่อ นามสกุล ที่อยู่
3.แบบฟอร์ม cerfa 02 สามารถ download ได้ที่นี่
https://www.formulaires.modernisation.gouv.fr/…/cerfa_14866…
หน้าตาแบบฟอร์ม CERFA 02 กับ ตำแหน่งของหมายเลข NEPH
4. ซองจ่าหน้าชื่อ ที่อยู่ของตนเอง พร้อมติดแสตมป์ (บางเขตเขาขอ)
เอกสารประกอบนั้นให้ถาม DDT โดยตรงว่าใช้อะไรบ้าง รายชื่อด้านบนเป็นเพียงรายชื่อแบบคร่าวๆ ** การขอหมายเลข NEPH ไม่มีค่าใช้จ่าย ใช้เวลา 1 - 3 สัปดาห์สำหรับผู้สมัครอิสระ**
หลังจากได้หมายเลข NEPH สามารถเลือกสนามสอบที่อยู่ใกล้บ้านได้ 3 แห่ง ค่าสมัคร 30 € ทุกแห่ง คือ
1.centre SGS หรือ เรียกง่ายๆว่า ศูนย์สอบของ contrôle technique
สามารถสมัครได้ที่นี่ https://www.objectifcode.sgs.com/…
2. La poste
สามารถสมัครได้ที่นี่
https://www.lecode.laposte.fr/passermonexamenducodeav…/login
3. Centre de l'État หรือสนามสอบของรัฐบาล DDT
ซึ่งการสมัครสอบกับ DDT นั้นคุณไม่สามารถเลือกวัน เวลาสอบได้
รายละเอียด
http://www.impots.gouv.fr/…/r…/procedure_timbre_gouv_fr.html
การชำระเงิน
https://timbres.impots.gouv.fr/…/achat/red…/informations.jsp
** หมายเหตุ ถ้าไม่มีหมายเลข NEPH ไม่สามารถสอบใบขับขี่ฝรั่งเศสได้**
วันจันทร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
การใช้เกียร์
ก่อนอื่นต้องมาเรียนวิธีการเข้าเกียร์ให้ถูกต้องก่อน ดูตามวีดีโอได้เลยค่ะ
https://www.youtube.com/watch?v=4QaxOC3U4v0
**ผู้คุมสอบมักชอบดูว่าคุณจับเกียร์ได้อย่างถูกต้องหรือเปล่าซึ่งถือเป็นความปลอดภัยอย่างหนึ่ง***
การเพิ่มเกียร์ ให้เหยียบคันเร่งก่อนเสมอ เพื่อเพิ่มความเร็วให้ได้ความเร็วที่สัมพันธ์กันแล้วจึงเข้าเกียร์สูงขึ้นไปเรื่อยๆ
การลดเกียร์ ให้เหยียบคันเบรคก่อนเสมอเพื่อลดความเร็วลงมาให้ได้ความเร็วที่สัมพันธ์กันแล้วจึงถอยเกียร์ลงมา
การลดเกียร์ให้ดูตามวีดีโอค่ะ สามารถดูได้จากวีดีโอค่ะ
https://www.youtube.com/watch?v=DhBZqd2FD3Q
**ตั้งแต่นาทีที่ 2,51 หลักการก็คือแป้นเบรคเป็นสิ่งที่เราเหยียบอันดับแรกและปล่อยเป็นสิ่งสุดท้าย **
การเปลี่ยนเกียร์นั้นใช้หลักการวัด 3 หลักการด้วยกัน แล้วแต่ความถนัด คือ
1. เสียงของเครื่องยนต์
2. ความเร็วของรถ (ดูจากมาตรวัดความเร็ว)
3. จำนวนรอบของเครื่องยนต์ (รอบหมุนของมอเตอร์หน่วยเป็น จำนวนรอบต่อนาที TR/MN) ดูจากมาตรวัดจำนวนรอบของเครื่องยนต์
ความเร็วของรถ
ความสัมพันธ์ระหว่างความเร็วและเกียร์บนทางเรียบ มีดังนี้
เกียร์ 1 ความเร็ว 0-20 กม./ชั่วโมง
เกียร์ 2 ความเร็ว 20-40 กม./ชั่วโมง
เกียร์ 3 ความเร็ว 40-60 กม./ชั่วโมง
เกียร์ 4 ความเร็ว 60-80 กม./ชั่วโมง
เกียร์ 5 ความเร็ว 80 - 110 กม./ชั่วโมง
เกียร์ 6 ความเร็ว > 110 กม./ชั่วโมง
เสียงของเครื่องยนต์ ตอนเรียน code คงจะอ่านหนังสือมาบ้าง
sur-régime เช่นใช้เกียร์ 1 ในขณะที่ใช้ความเร็วอยู่ที่ 30 กม./ชั่วโมง , เกียร์ 2 ในขณะที่ใช้ความเร็วอยู่ที่ 50 กม./ชั่วโมง สัญญานที่บอกก็คือเสียงเครื่องยนต์ที่ดังมากกว่าปกติ
ข้อดีก็คือ ความแรงเพิ่มมากขึ้น ใช้สำหรับกรณีสำหรับการไต่ขึ้นเขา หรือ การแซง หรือการเสียบเข้าทางด่วนหรือวงแหวน ข้อเสียก็คือเปลืองน้ำมันมาก
sous-régime คือการเข้าเกียร์ที่สูงกว่าเร็วเกินไป เช่น การเข้าเกียร์ 2 ในขณะที่ความเร็วอยู่ที่ 10 km/h ดูได้จากรถวิ่งอืดถึงแม้จะเหยียบคันเร่งเต็มที่ หรือบางทีเครื่องยนต์ดับ นั่นคือ ความแรงของรถไม่มี
จำนวนรอบของเครื่องยนต์
1. การเพิ่มเกียร์นั้นสามารถดูจากจำนวนรอบของเครื่องยนต์ เมื่อมอเตอร์หมุนอยู่ที่ 2000 - 2100 TR/mn (รอบ/นาที) ให้เปลี่ยนเกียร์สูงกว่าขึ้นไป
2.การลดเกียร์ (rétrograder) ดูจากจำนวนรอบของเครื่องยนต์ เมื่อมอเตอร์หมุนอยู่ที่ 1500 - 1000 TR/mn (รอบ/นาที) ให้ลดเกียร์ลงมา
** ทั้งนี้ทั้งนั้นนิยมใช้วิธีฟังเสียงเครื่องยนต์เพื่อความปลอดภัย เพราะการดูมาตรวัดนั้นแม้เพียงเสี้ยววินาทีก็อาจจะทำให้เกิดอุบัติเหตุ**
Note :
1. เกียร์ 1 ใช้เมื่อรถหยุดสนิทหรือเกือบสนิท หรือระหว่างรอติดไฟแดง (ถ้าเราคิดว่าเราเป็นพวกเข้าเกียร์ช้า ก็เข้าเกียร์ 1 ค้างไว้ แต่ในขณะสอบการเข้าเกียร์ 1 ค้างบ่อยๆ จะทำให้ไม่ได้คะแนนในหัวข้อประหยัดน้ำมัน)
2.เวลาจะเข้าวงเวียนต้องเข้าด้วยเกียร์ 2 ทุกครั้งอย่าเหยียบคลั๊ซค้าง มันจะทำให้เกิดอาการ roue libre มีผลทำให้สอบตกแบบทันที (éliminatoire) โดยไม่ต้องลุ้นคะแนน
3.การที่เตรียมจอดติดไฟแดงนั้นต้องจอดด้วยเกียร์ 2 ยกเว้นกรณีเจอไฟส้มกระชั้นชิดสามารถจอดโดยใช้เกียร์ 3 ไม่ผิดกติกา
4. ในเมืองหากถนนนั้นเป็นเส้นตรง ไม่มีทางแยก สามารถใช้เกียร์ 4 โดยคงความเร็วไม่เกิน 50 km/h ข้อนี้เวลาสอบจะได้ + 1 คะแนน หัวข้อประหยัดน้ำมัน 5. จอดติดไฟแดงให้เข้าเกียร์ว่าง ( point mort ) เสมอ บางโรงเรียนให้นร.เข้าเกียร์ 1 ค้างเวลาที่เด็กเข้าเกียร์ไม่ทัน คำแนะนำคือ เข้าเกียร์ว่างจะดีกว่า เพราะจะได้คะแนนเพิ่ม 1 คะแนน หัวข้อประหยัด แต่ถ้าไม่ชินก็เข้าเกียร์ 1 ค้างไว้ก็ได้
https://www.youtube.com/watch?v=4QaxOC3U4v0
**ผู้คุมสอบมักชอบดูว่าคุณจับเกียร์ได้อย่างถูกต้องหรือเปล่าซึ่งถือเป็นความปลอดภัยอย่างหนึ่ง***
การเพิ่มเกียร์ ให้เหยียบคันเร่งก่อนเสมอ เพื่อเพิ่มความเร็วให้ได้ความเร็วที่สัมพันธ์กันแล้วจึงเข้าเกียร์สูงขึ้นไปเรื่อยๆ
การลดเกียร์ ให้เหยียบคันเบรคก่อนเสมอเพื่อลดความเร็วลงมาให้ได้ความเร็วที่สัมพันธ์กันแล้วจึงถอยเกียร์ลงมา
การลดเกียร์ให้ดูตามวีดีโอค่ะ สามารถดูได้จากวีดีโอค่ะ
https://www.youtube.com/watch?v=DhBZqd2FD3Q
**ตั้งแต่นาทีที่ 2,51 หลักการก็คือแป้นเบรคเป็นสิ่งที่เราเหยียบอันดับแรกและปล่อยเป็นสิ่งสุดท้าย **
การเปลี่ยนเกียร์นั้นใช้หลักการวัด 3 หลักการด้วยกัน แล้วแต่ความถนัด คือ
1. เสียงของเครื่องยนต์
2. ความเร็วของรถ (ดูจากมาตรวัดความเร็ว)
3. จำนวนรอบของเครื่องยนต์ (รอบหมุนของมอเตอร์หน่วยเป็น จำนวนรอบต่อนาที TR/MN) ดูจากมาตรวัดจำนวนรอบของเครื่องยนต์
ความเร็วของรถ
ความสัมพันธ์ระหว่างความเร็วและเกียร์บนทางเรียบ มีดังนี้
เกียร์ 1 ความเร็ว 0-20 กม./ชั่วโมง
เกียร์ 2 ความเร็ว 20-40 กม./ชั่วโมง
เกียร์ 3 ความเร็ว 40-60 กม./ชั่วโมง
เกียร์ 4 ความเร็ว 60-80 กม./ชั่วโมง
เกียร์ 5 ความเร็ว 80 - 110 กม./ชั่วโมง
เกียร์ 6 ความเร็ว > 110 กม./ชั่วโมง
เสียงของเครื่องยนต์ ตอนเรียน code คงจะอ่านหนังสือมาบ้าง
sur-régime เช่นใช้เกียร์ 1 ในขณะที่ใช้ความเร็วอยู่ที่ 30 กม./ชั่วโมง , เกียร์ 2 ในขณะที่ใช้ความเร็วอยู่ที่ 50 กม./ชั่วโมง สัญญานที่บอกก็คือเสียงเครื่องยนต์ที่ดังมากกว่าปกติ
ข้อดีก็คือ ความแรงเพิ่มมากขึ้น ใช้สำหรับกรณีสำหรับการไต่ขึ้นเขา หรือ การแซง หรือการเสียบเข้าทางด่วนหรือวงแหวน ข้อเสียก็คือเปลืองน้ำมันมาก
sous-régime คือการเข้าเกียร์ที่สูงกว่าเร็วเกินไป เช่น การเข้าเกียร์ 2 ในขณะที่ความเร็วอยู่ที่ 10 km/h ดูได้จากรถวิ่งอืดถึงแม้จะเหยียบคันเร่งเต็มที่ หรือบางทีเครื่องยนต์ดับ นั่นคือ ความแรงของรถไม่มี
จำนวนรอบของเครื่องยนต์
1. การเพิ่มเกียร์นั้นสามารถดูจากจำนวนรอบของเครื่องยนต์ เมื่อมอเตอร์หมุนอยู่ที่ 2000 - 2100 TR/mn (รอบ/นาที) ให้เปลี่ยนเกียร์สูงกว่าขึ้นไป
2.การลดเกียร์ (rétrograder) ดูจากจำนวนรอบของเครื่องยนต์ เมื่อมอเตอร์หมุนอยู่ที่ 1500 - 1000 TR/mn (รอบ/นาที) ให้ลดเกียร์ลงมา
** ทั้งนี้ทั้งนั้นนิยมใช้วิธีฟังเสียงเครื่องยนต์เพื่อความปลอดภัย เพราะการดูมาตรวัดนั้นแม้เพียงเสี้ยววินาทีก็อาจจะทำให้เกิดอุบัติเหตุ**
Note :
1. เกียร์ 1 ใช้เมื่อรถหยุดสนิทหรือเกือบสนิท หรือระหว่างรอติดไฟแดง (ถ้าเราคิดว่าเราเป็นพวกเข้าเกียร์ช้า ก็เข้าเกียร์ 1 ค้างไว้ แต่ในขณะสอบการเข้าเกียร์ 1 ค้างบ่อยๆ จะทำให้ไม่ได้คะแนนในหัวข้อประหยัดน้ำมัน)
2.เวลาจะเข้าวงเวียนต้องเข้าด้วยเกียร์ 2 ทุกครั้งอย่าเหยียบคลั๊ซค้าง มันจะทำให้เกิดอาการ roue libre มีผลทำให้สอบตกแบบทันที (éliminatoire) โดยไม่ต้องลุ้นคะแนน
3.การที่เตรียมจอดติดไฟแดงนั้นต้องจอดด้วยเกียร์ 2 ยกเว้นกรณีเจอไฟส้มกระชั้นชิดสามารถจอดโดยใช้เกียร์ 3 ไม่ผิดกติกา
4. ในเมืองหากถนนนั้นเป็นเส้นตรง ไม่มีทางแยก สามารถใช้เกียร์ 4 โดยคงความเร็วไม่เกิน 50 km/h ข้อนี้เวลาสอบจะได้ + 1 คะแนน หัวข้อประหยัดน้ำมัน 5. จอดติดไฟแดงให้เข้าเกียร์ว่าง ( point mort ) เสมอ บางโรงเรียนให้นร.เข้าเกียร์ 1 ค้างเวลาที่เด็กเข้าเกียร์ไม่ทัน คำแนะนำคือ เข้าเกียร์ว่างจะดีกว่า เพราะจะได้คะแนนเพิ่ม 1 คะแนน หัวข้อประหยัด แต่ถ้าไม่ชินก็เข้าเกียร์ 1 ค้างไว้ก็ได้
วันพุธที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2559
ระยะทางต่างๆ ( La distance)
สูตรตามรูปก็คือ
รูปที่ 1 ซ้ายมือสุด คือ ระยะ 0 รถที่เราอ้างอิง = ?
รูปที่ 2 ตรงกลาง คือ ระยะที่เริ่มเหยียบเพดานเบรค (Début de freinage)
รูปที่ 3 ขวาสุด คือ ระยะที่รถหยุดนิ่งสนิท (Arrêt)
เส้นสีเขียว คือ ระยะทางที่รถกำลังแล่นอยู่ในระหว่างระยะเวลาที่ใช้ในการตอบสนองต่อการกระทำ ในทีนี้ หมายถึง คันเบรค (Distance parcourue distance pendant le temps de réaction ) **ทำความเข้าใจประโยคให้ดี**
Distance parcourue = ระยะทางที่รถกำลังแล่นอยู่
le temps de réaction = ระยะเวลาที่ใช้ในการตอบสนองต่อการกระทำใดๆ
pendant = ในระหว่าง
**ปฎิกิริยาตอบสนอง หมายถึงร ะยะเวลาที่เราคิดที่จะเหยียบเบรค คือ หมายถึงเรากำลังคิดจะเหยียบคันเบรคแต่ยังไม่เหยียบ **
เส้นสีฟ้า คือ ระยะเบรค (Distance de freinage)
ความหมายของรูปก็คือ
ระยะที่รถหยุดนิ่งสนิท = ระยะทางที่รถกำลังแล่นอยู่ในระหว่างระยะเวลาตอบสนอง + ระยะเบรค
la distance d'arrêt = la distance parcourue pendant le temps de réaction + la distance de freinage
สิ่งที่จะต้องจำคือ
1. le temps de réaction en moyenne 1 seconde ระยะเวลาที่ใช้ในการตอบสนองโดยเฉลี่ย 1 วินาที
2. le temps de réaction ขึ้นอยู่กับ fatigue,soucis,alcool ซึ่งจะ augmenter (แปลว่าเพิ่มขึ้น ความหมายก็คือ ถ้าหากเราเหนื่อย ดื่มสุรา เราก็ใช้เวลา le temps de réaction มากขึ้น เช่นจาก 1 วินาที เป็น 5 วินาที )
2. la distance parcourue pendant une seconde x 3 การหาระยะทางที่รถกำลังแล่น ในช่วงเวลา 1 วินาที ให้เอา 3 คูณ เช่น
- ความเร็ว 60 km/h ให้ตัด 0 ข้างหน้าออก เหลือ 6 6 x 3 = 18 เมตร
- ความเร็ว 90 km/h ให้ตัด 0 ข้างหน้าออก เหลือ 9 9 x 3 = 27 เมตร
- ความเร็ว 130 km/h ให้ตัด 0 ข้างหน้าออก เหลือ 13 13 x 3 = 39 เมตร
3. la distance de freinage นับจากระยะเวลาที่เริ่มเหยียบคันเบรคจนกระทั่งรถหยุดนิ่งสนิท (รูปที่ 2 - รูปที่ 3)
ระยะเบรคขึ้นอยู่กับ
- amortisseur
- des disques,des plaquettes
- charge de véhicule น้ำหนักของที่บรรทุกบนรถ
4. la distance de sécurité ใช้ 2 วินาที
5. การคำนวณ distance de sécurité = la distance parcourue pendant le temps de réaction x 2 (ระยะปลอดภัยใช้ 2 วินาที)
- ความเร็ว 60 km/h ให้ตัด 0 ข้างหน้าออก เหลือ 6 6 x 3 x 2 = 36 เมตร
- ความเร็ว 90 km/h ให้ตัด 0 ข้างหน้าออก เหลือ 9 9 x 3 x 2 = 54 เมตร
- ความเร็ว 130 km/h ให้ตัด 0 ข้างหน้าออก เหลือ 13 13 x 3 x 2 = 78 เมตร
6. distance d'arret
การคำนวณ ถนนแห้ง
- ความเร็ว 60 km/h ให้ตัด 0 ข้างหน้าออก เหลือ 6 ให้ยกกำลัง 2 = 6 x 6 = 36 เมตร
- ความเร็ว 90 km/h ให้ตัด 0 ข้างหน้าออก เหลือ 9 ให้ยกกำลัง 2 = 9 x 9 = 81 เมตร
- ความเร็ว 130 km/h ให้ตัด 0 ข้างหน้าออก เหลือ 13 ให้ยกกำลัง 2 = 6 x 6 = 169 เมตร
การคำนวณ ถนนเปียก ให้นำระยะทางบนถนนแห้งมา หาร 2 แล้วบวกเข้าไปใหม่
- ความเร็ว 60 km/h ให้ตัด 0 ข้างหน้าออก เหลือ 6 ให้ยกกำลัง 2 = 6 x 6 = 36 เมตร 36 + (36/2) = 54 เมตร
- ความเร็ว 90 km/h ให้ตัด 0 ข้างหน้าออก เหลือ 9 ให้ยกกำลัง 2 = 9 x 9 = 81 เมตร 81 + (81/2) = 121.5 เมตร
- ความเร็ว 130 km/h ให้ตัด 0 ข้างหน้าออก เหลือ 13 ให้ยกกำลัง 2 = 13 x 13 = 169 เมตร 169 + (169/2) = 253.5 เมตร
วันพุธที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2559
ณ วันสอบขับ (Le jour de l’examen pratique)
ผู้เข้าสอบจะต้องเตรียม carte de séjour หรือ CNI (บัตรประจำตัวประชาชนฝรั่งเศส) หรือ หนังสือเดินทาง เพื่อแสดงต่อผู้คุมสอบ ต่อไปนี้จะเรียกผู้คุมสอบ (l'inspecteur du permis ) สั้นๆโดยใช้คำว่า inspecteur และ หนังสือ livret d’apprentissage (บางเขตเขาก็ไม่เอา ต้องถามครู ) ในรถนั้นจะมีผู้โดยสาร 3 คนคือ ผู้เข้าสอบ (le candidat) , ผู้คุมสอบ (l'inspecteur),ครู (le moniteur)
การสอบขับจะใช้เวลาโดยประมาณ 32 - 35 นาที ขั้นตอนมีดังต่อไปนี้
ขั้นตอนแรก inspecteur จะตรวจเอกสารที่โรงเรียนยื่นมาให้ เป็นแบบฟอร์มสีส้มซึ่งจะมีหมายเลขประจำตัวผู้สอบ เรียกว่า NEPH (หมายเลข NEPH สามารถใช้ดูผลสอบทาง internet ได้) ซึ่ง inspecteur จะดูด้านหลังแบบฟอร์มสีส้มว่าผู้เข้าสอบมีคุณสมบัติตรงหรือไม่ กล่าวคือ 1. สอบผ่านภาคทฤษฎี (examen théorique / le code) มาแล้ว 2. อายุของ code ต้องไม่เกิน 5 ปี 3. สอบได้ไม่เกิน 5 ครั้งต่ออายุของ code
ขั้นตอนที่ 2 inspecteur จะเรียกผู้เข้าสอบเข้าไป เพื่อตรวจสอบหลักฐานต่างๆว่าเป็นคนๆเดียวกันซึ่งผู้เข้าสอบจะต้องแสดงบัตรประจำตัวของตน (เลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่งตามด้านบน) และยื่นหนังสือ livret d’apprentissage
ขั้นตอนที่ 3 inspecteur จะอธิบายว่าจะมีการสอบแบบไหนบ้าง
การสอบขับจะมี 3 ส่วนโดยทั่วไป
ส่วนที่ 1 การขับตามที่บอก inspecteur จะบอกทิศทางว่าจะเลี้ยวไปไหนบ้าง ซ้าย ขวา ออกวงเวียนที่ 2 ตรงไป เรียกง่ายๆว่าขับตามคำสั่ง
ส่วนที่ 2 การสอบขับ Une période d’autonomie เป็นช่วงเวลาทดสอบโดยให้เราตัดสินใจเองประมาณ 5 นาที ขับตามป้ายบอกทาง (itinéraire)
inspecteur จะบอกป้ายชื่อเมือง ให้เราขับตามป้ายชื่อเมืองไป เช่น Paris ก็ให้ขับตามป้ายปารีสไปเรื่อยๆ ในส่วนนี้ ส่วนใหญ่จะมีให้ขับส่วนของถนนวงแหวน (la rocade / le périphérique) หรือ ทางด่วน (autoroute) ขึ้นอยู่กับว่าจะอยู่ใกล้จุดใด ความเร็วที่ใช้แตกต่างกัน ต้องสังเกตป้าย และปรับเปลี่ยนความเร็วตามสถานการณ์
ส่วนที่ 3 การทำ manoeuvre หรือการบังคับรถ inspecteur จะให้เราทำ 2 อย่าง คือเราเลือกเอง และ เขาเลือกให้ เช่น การให้กลับรถ (demi-tour), จอดแบบ épi arrière, épi avant, bataille avant, bataille arrière,créneau,marche arrière (ถอยหลัง)
** การทำ manoeuvre ถ้าเป็นการกลับรถจะต้องหมุนพวงมาลัยไม่เกิน 3 ครั้ง , ถ้าเป็นการจอดแบบ créneau ใช้เวลาให้พอเหมาะพอเจาะ ถ้าชนฟุตบาทเบาๆไม่เป็นไร แต่ถ้าชนฟุตบาทแรง จะติด E เทคนิคคือเวลาเข้าเกียร์ถอยหลังอย่าใช้คันเร่งให้ใช้คลั๊ซให้เป็นประโยชน์ เหยียบคลั๊ซช้าๆ ส่วน bataille กับ épi เขาไม่นับว่าจะหมุนพวงมาลัยได้กี่รอบ ดังนั้นพยายามใจเย็นๆอย่ารีบให้จอดสวยที่สุด แต่ก็อย่านานเกินเหตุ**
บางครั้ง inspecteur ให้เราทำ manoeuvre 1 ครั้ง inspecteur เลือกให้หรือเราเลือกเอง แล้วจะมีการ test autonome เช่น การบอกให้เราหยุดตรงทางแยก ซึ่งเราจะต้องตัดสินใจเองว่าจะหยุดตรงไหน บางครั้งด้านหน้าเรามีทางม้าลาย หรือ ที่หยุดจักรยาน ดังนั้นเราจะต้องหยุดก่อนที่จะถึงที่หยุดจักรยาน ถ้าหากมีคนข้ามถนนด้านหน้า เราจะต้องหยุด 2 ครั้งเป็นต้น หลักๆคือให้เราตัดสินใจเอง
ส่วนที่ 4 การตอบคำถาม จะมีคำถามภายในรถ 1 คำถาม คำถามนอกรถ 1 คำถาม
*** inspecteur จะบอกว่าให้ใช้ความเร็วแบบใด แบบ jeune conducteur หรือ ปกติ ถ้าไม่บอกแสดงว่าใช้ความเร็วปกติ แต่ถ้าเขาไม่บอก แนะนำให้ถาม inspecteur อย่านึกเอาเอง เขาไม่ว่าถ้าเราจะถาม
หลังจากนั้นแนะนำว่า ให้คุณบอกกับ inspecteur ว่า Pouvez-vous parler lentement,s'il vous plaît parce que je parle un petit peu Français. Merci beaucoup . (ปูเว วู้ ปาร์เล่ ล๊องเทม๊อง ซิลวูเปล ปาร์เซ เคอ เฌอ ปาร์เลอ อัง เปอตี เปอ ฟร๊องเซ .แมซี่ โบกู) ความหมายคือได้โปรดพูดช้าๆหน่อยเพราะฉันพูดภาษาฝรั่งเศสได้นิดหน่อย ขอบคุณมาก ***
ขั้นตอนที่ 4 บางเขตครู ( le moniteur) จะแนะนำให้เดินตรวจสภาพภายนอกของรถ รอบรถ ดูลมยาง สภาพของกระจก etc. บางเขตอย่าทำเพราะ inspecteur จะด่าว่าเสียเวลา จะทำหรือไม่ให้ถามครู ต่อไปจะเรียกครูว่า moniteur
ขั้นตอนที่ 5 ให้ปรับที่นั่งในรถ ขั้นตอนก็คือ
พอนั่งแล้วให้ยื่นขาไปลองแตะกับคันเร่ง คันเบรก คลั๊ซ ว่าไกล-ใกล้ไปไหม ขาจะต้องสามารถยืดหยุ่น อย่านั่งชิดขา ให้แยกขานิดๆ ถ้ายังให้เลื่อนที่นั่ง( siège )ไปด้านหน้า - ด้านหลัง ที่ปรับมักจะอยู่ใต้เบาะ รถบางรุ่นสามารถปรับเบาะขึ้น-ลงได้ หลังจากนั้นจับพวงมาลัยดูว่าระยะพอเหมาะพอเจาะหรือยัง อย่าให้แขนงอมากหรือตึงเกินไป ถ้ายังให้ปรับพนักเอน ส่วนนี้เรียกว่า Dossier ที่ปรับมักจะอยู่ด้านข้าง และลองเอนดูว่าหมอนรองศีรษะ (appui-tête)ตรงหรือยัง หลังจากนั้นให้ปรับกระจกด้านใน - ด้านนอกว่าสามารถมองเห็นดีหรือไม่ กระจกด้านใน (มองหลัง) จะต้องเห็นด้านหลังได้ชัดดี กระจกด้านนอกจะต้องมองเห็นมุมท้ายรถได้ดี ต่อมาให้คาดเข็มขัดนิรภัย หันไปดูผู้โดยสารทุกคนว่าคาดเข็มขัดถูกต้องหรือไม่ การคาดเข็มขัดนิรภัยที่ถูกต้อง เข็มขัดนิรภัยจะต้องไม่บิดเป็นเกลียว บ่อยครั้ง inspecteur จะแกล้งคาดเข็มขัดบิดเป็นเกลียวให้สังเกตดีๆ อย่าสักแต่ดูผ่านๆ หลังจากนั้น ให้ใช้ประโยคหากินว่า
Avez-vous attacher la ceinture de sécurité (อาเว-วู้ ซาทาซเฌ่ ลา แซง / ซัง ตูเรอ เดอ เซคูรีเต้) ตัว v จะออกเสียงกึ่งๆระหว่าง ฝ กับ ว เอาตามถนัดค่ะ
หรือจะบอกในตอนที่เรากำลังคาดเข็มขัด โดยการออกคำสั่งทุกคนว่า Attachez vos ceintures, s'il vous plait ! (อาต๊าซเช่ โว๊เตรอ แซ็ง/ซัง ตูเรอ ซิลวูเปล)
หันไปดูผู้โดยสารทุกคนว่าคาดเข็มขัดนิรภัยให้ถูกต้อง ต่อด้วยประโยค êtes-vous prêts? (เอ๊ด-วู เพร๊ส?) พอทุกคนตอบ ก็เริ่มออกตัวได้
*** ขั้นตอนปรับที่นั่งสำคัญมากอย่าทำผิดขั้นตอน ไม่งั้นคะแนน 2 คะแนนจะหายไปตามสายลม***
ถ้าอ่านแล้วยังงงสำหรับขั้นตอนการปรับที่นั่งให้ดูตามวีดีโอใน youtube เช่น
https://www.youtube.com/watch?v=uMdRuHufcxo หรือ https://www.youtube.com/watch?v=TaeTz_BzzLo หรือพิมพ์คำว่า "installation au poste de conduite"
**ข้อควรระวัง คือการหมุนพวงมาลัย ต้องหมุนพวงมาลัยให้ถูกต้อง และอย่าเลี้ยงคลั๊ซเมื่อไม่ต้องการให้รถดับ หรือกำลังอยู่ในวงเวียน เพราะติด E**
การเตรียมตัวเรื่องสนามสอบ มีคำแนะนำคือ
1. ให้ขอติดรถคนอื่นที่ไปลองสนามสอบบ่อยๆ เพราะครูมักจะชี้ให้ดูจุดที่ต้องระวังเป็นพิเศษ และดูข้อบกพร่องของคนอื่น เราจะได้ระวัง
2. ใช้ google street view ให้เกิดประโยชน์คอยส่องถนน ส่องป้าย
การเตรียมตัวสอบ
ทำใจให้สบาย อย่าเครียด อย่าหมกมุ่น อย่ากังวลไปกับคำถามนอกรถ-ในรถเพราะมันไม่ใช่สิ่งสำคัญ สิ่งสำคัญก็คือช่วงเวลาที่คุณขับรถ พยายามควบคุมสติและสมาธิในช่วงเวลา 32 - 35 นาที ให้ได้ วันก่อนสอบควรออกจะไปออกกำลังกาย shopping ดูหนัง อ่านหนังสือ นอนอืด ให้คลายเครียดที่สุดอย่ากดดันตนเอง ส่วนใหญ่ที่พลาดกันไม่ใช่เพราะว่าอุปสรรคทางด้านภาษา แต่เป็นเพราะ วิตกจริต กดดันตัวเอง เกินไป ถ้าทำได้ชิวๆ ไม่ตั้งความหวัง ในวันสอบมักจะทำได้ดี
การสอบขับจะใช้เวลาโดยประมาณ 32 - 35 นาที ขั้นตอนมีดังต่อไปนี้
ขั้นตอนแรก inspecteur จะตรวจเอกสารที่โรงเรียนยื่นมาให้ เป็นแบบฟอร์มสีส้มซึ่งจะมีหมายเลขประจำตัวผู้สอบ เรียกว่า NEPH (หมายเลข NEPH สามารถใช้ดูผลสอบทาง internet ได้) ซึ่ง inspecteur จะดูด้านหลังแบบฟอร์มสีส้มว่าผู้เข้าสอบมีคุณสมบัติตรงหรือไม่ กล่าวคือ 1. สอบผ่านภาคทฤษฎี (examen théorique / le code) มาแล้ว 2. อายุของ code ต้องไม่เกิน 5 ปี 3. สอบได้ไม่เกิน 5 ครั้งต่ออายุของ code
ขั้นตอนที่ 2 inspecteur จะเรียกผู้เข้าสอบเข้าไป เพื่อตรวจสอบหลักฐานต่างๆว่าเป็นคนๆเดียวกันซึ่งผู้เข้าสอบจะต้องแสดงบัตรประจำตัวของตน (เลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่งตามด้านบน) และยื่นหนังสือ livret d’apprentissage
ขั้นตอนที่ 3 inspecteur จะอธิบายว่าจะมีการสอบแบบไหนบ้าง
การสอบขับจะมี 3 ส่วนโดยทั่วไป
ส่วนที่ 1 การขับตามที่บอก inspecteur จะบอกทิศทางว่าจะเลี้ยวไปไหนบ้าง ซ้าย ขวา ออกวงเวียนที่ 2 ตรงไป เรียกง่ายๆว่าขับตามคำสั่ง
ส่วนที่ 2 การสอบขับ Une période d’autonomie เป็นช่วงเวลาทดสอบโดยให้เราตัดสินใจเองประมาณ 5 นาที ขับตามป้ายบอกทาง (itinéraire)
inspecteur จะบอกป้ายชื่อเมือง ให้เราขับตามป้ายชื่อเมืองไป เช่น Paris ก็ให้ขับตามป้ายปารีสไปเรื่อยๆ ในส่วนนี้ ส่วนใหญ่จะมีให้ขับส่วนของถนนวงแหวน (la rocade / le périphérique) หรือ ทางด่วน (autoroute) ขึ้นอยู่กับว่าจะอยู่ใกล้จุดใด ความเร็วที่ใช้แตกต่างกัน ต้องสังเกตป้าย และปรับเปลี่ยนความเร็วตามสถานการณ์
ส่วนที่ 3 การทำ manoeuvre หรือการบังคับรถ inspecteur จะให้เราทำ 2 อย่าง คือเราเลือกเอง และ เขาเลือกให้ เช่น การให้กลับรถ (demi-tour), จอดแบบ épi arrière, épi avant, bataille avant, bataille arrière,créneau,marche arrière (ถอยหลัง)
** การทำ manoeuvre ถ้าเป็นการกลับรถจะต้องหมุนพวงมาลัยไม่เกิน 3 ครั้ง , ถ้าเป็นการจอดแบบ créneau ใช้เวลาให้พอเหมาะพอเจาะ ถ้าชนฟุตบาทเบาๆไม่เป็นไร แต่ถ้าชนฟุตบาทแรง จะติด E เทคนิคคือเวลาเข้าเกียร์ถอยหลังอย่าใช้คันเร่งให้ใช้คลั๊ซให้เป็นประโยชน์ เหยียบคลั๊ซช้าๆ ส่วน bataille กับ épi เขาไม่นับว่าจะหมุนพวงมาลัยได้กี่รอบ ดังนั้นพยายามใจเย็นๆอย่ารีบให้จอดสวยที่สุด แต่ก็อย่านานเกินเหตุ**
บางครั้ง inspecteur ให้เราทำ manoeuvre 1 ครั้ง inspecteur เลือกให้หรือเราเลือกเอง แล้วจะมีการ test autonome เช่น การบอกให้เราหยุดตรงทางแยก ซึ่งเราจะต้องตัดสินใจเองว่าจะหยุดตรงไหน บางครั้งด้านหน้าเรามีทางม้าลาย หรือ ที่หยุดจักรยาน ดังนั้นเราจะต้องหยุดก่อนที่จะถึงที่หยุดจักรยาน ถ้าหากมีคนข้ามถนนด้านหน้า เราจะต้องหยุด 2 ครั้งเป็นต้น หลักๆคือให้เราตัดสินใจเอง
ส่วนที่ 4 การตอบคำถาม จะมีคำถามภายในรถ 1 คำถาม คำถามนอกรถ 1 คำถาม
link สำหรับ download เอกสารสำหรับคำถามในรถ - นอกรถ ซึ่งคำถามนั้นจะอยู่ใน file ที่แนะนำให้ download ทั้งหมด ไม่มีคำถามนอกเหนือจากนี้
- คำถามในรถ (intérieur)
http://verificationpermis.free.fr/document/verif_interieur.pdf
- คำถามนอกรถ (extérieur)
http://verificationpermis.free.fr/document/verif_exterieur.pdf
สำหรับปุ่มหรืออุปกรณ์บางอย่างในรถ - นอกรถ
นั้นจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับรุ่นของรถยนต์ สามารถ search หาข้อมูลต่างๆ จาก
google ด้วยการพิมพ์คำว่า vérification extérieur / vérification
intérieur permis de conduire + ชื่อยี่ห้อและรุ่นของรถ เพื่อดูวีดีโอ
มีรถหลายรุ่นที่ไม่มีวีดีโอใน youtube ให้ดู จึงควรใช้ google ในการ search
หา
ส่วนใหญ่รถที่ใช้เรียนยอดฮิตจะเป็น Citroën รุ่น C3 งั้นแถม link วีดีโอให้ดู จริงๆมีหลายวีดีโออยู่ สำหรับรุ่นนี้
- คำถามในรถ (intérieur)
https://www.youtube.com/watch?v=eZ3zLF67F68
- คำถามนอกรถ (extérieur)
https://www.youtube.com/watch?v=M3FCfnIbiC8
*** inspecteur จะบอกว่าให้ใช้ความเร็วแบบใด แบบ jeune conducteur หรือ ปกติ ถ้าไม่บอกแสดงว่าใช้ความเร็วปกติ แต่ถ้าเขาไม่บอก แนะนำให้ถาม inspecteur อย่านึกเอาเอง เขาไม่ว่าถ้าเราจะถาม
หลังจากนั้นแนะนำว่า ให้คุณบอกกับ inspecteur ว่า Pouvez-vous parler lentement,s'il vous plaît parce que je parle un petit peu Français. Merci beaucoup . (ปูเว วู้ ปาร์เล่ ล๊องเทม๊อง ซิลวูเปล ปาร์เซ เคอ เฌอ ปาร์เลอ อัง เปอตี เปอ ฟร๊องเซ .แมซี่ โบกู) ความหมายคือได้โปรดพูดช้าๆหน่อยเพราะฉันพูดภาษาฝรั่งเศสได้นิดหน่อย ขอบคุณมาก ***
ขั้นตอนที่ 4 บางเขตครู ( le moniteur) จะแนะนำให้เดินตรวจสภาพภายนอกของรถ รอบรถ ดูลมยาง สภาพของกระจก etc. บางเขตอย่าทำเพราะ inspecteur จะด่าว่าเสียเวลา จะทำหรือไม่ให้ถามครู ต่อไปจะเรียกครูว่า moniteur
ขั้นตอนที่ 5 ให้ปรับที่นั่งในรถ ขั้นตอนก็คือ
พอนั่งแล้วให้ยื่นขาไปลองแตะกับคันเร่ง คันเบรก คลั๊ซ ว่าไกล-ใกล้ไปไหม ขาจะต้องสามารถยืดหยุ่น อย่านั่งชิดขา ให้แยกขานิดๆ ถ้ายังให้เลื่อนที่นั่ง( siège )ไปด้านหน้า - ด้านหลัง ที่ปรับมักจะอยู่ใต้เบาะ รถบางรุ่นสามารถปรับเบาะขึ้น-ลงได้ หลังจากนั้นจับพวงมาลัยดูว่าระยะพอเหมาะพอเจาะหรือยัง อย่าให้แขนงอมากหรือตึงเกินไป ถ้ายังให้ปรับพนักเอน ส่วนนี้เรียกว่า Dossier ที่ปรับมักจะอยู่ด้านข้าง และลองเอนดูว่าหมอนรองศีรษะ (appui-tête)ตรงหรือยัง หลังจากนั้นให้ปรับกระจกด้านใน - ด้านนอกว่าสามารถมองเห็นดีหรือไม่ กระจกด้านใน (มองหลัง) จะต้องเห็นด้านหลังได้ชัดดี กระจกด้านนอกจะต้องมองเห็นมุมท้ายรถได้ดี ต่อมาให้คาดเข็มขัดนิรภัย หันไปดูผู้โดยสารทุกคนว่าคาดเข็มขัดถูกต้องหรือไม่ การคาดเข็มขัดนิรภัยที่ถูกต้อง เข็มขัดนิรภัยจะต้องไม่บิดเป็นเกลียว บ่อยครั้ง inspecteur จะแกล้งคาดเข็มขัดบิดเป็นเกลียวให้สังเกตดีๆ อย่าสักแต่ดูผ่านๆ หลังจากนั้น ให้ใช้ประโยคหากินว่า
Avez-vous attacher la ceinture de sécurité (อาเว-วู้ ซาทาซเฌ่ ลา แซง / ซัง ตูเรอ เดอ เซคูรีเต้) ตัว v จะออกเสียงกึ่งๆระหว่าง ฝ กับ ว เอาตามถนัดค่ะ
หรือจะบอกในตอนที่เรากำลังคาดเข็มขัด โดยการออกคำสั่งทุกคนว่า Attachez vos ceintures, s'il vous plait ! (อาต๊าซเช่ โว๊เตรอ แซ็ง/ซัง ตูเรอ ซิลวูเปล)
หันไปดูผู้โดยสารทุกคนว่าคาดเข็มขัดนิรภัยให้ถูกต้อง ต่อด้วยประโยค êtes-vous prêts? (เอ๊ด-วู เพร๊ส?) พอทุกคนตอบ ก็เริ่มออกตัวได้
*** ขั้นตอนปรับที่นั่งสำคัญมากอย่าทำผิดขั้นตอน ไม่งั้นคะแนน 2 คะแนนจะหายไปตามสายลม***
ถ้าอ่านแล้วยังงงสำหรับขั้นตอนการปรับที่นั่งให้ดูตามวีดีโอใน youtube เช่น
https://www.youtube.com/watch?v=uMdRuHufcxo หรือ https://www.youtube.com/watch?v=TaeTz_BzzLo หรือพิมพ์คำว่า "installation au poste de conduite"
**ข้อควรระวัง คือการหมุนพวงมาลัย ต้องหมุนพวงมาลัยให้ถูกต้อง และอย่าเลี้ยงคลั๊ซเมื่อไม่ต้องการให้รถดับ หรือกำลังอยู่ในวงเวียน เพราะติด E**
การเตรียมตัวเรื่องสนามสอบ มีคำแนะนำคือ
1. ให้ขอติดรถคนอื่นที่ไปลองสนามสอบบ่อยๆ เพราะครูมักจะชี้ให้ดูจุดที่ต้องระวังเป็นพิเศษ และดูข้อบกพร่องของคนอื่น เราจะได้ระวัง
2. ใช้ google street view ให้เกิดประโยชน์คอยส่องถนน ส่องป้าย
การเตรียมตัวสอบ
ทำใจให้สบาย อย่าเครียด อย่าหมกมุ่น อย่ากังวลไปกับคำถามนอกรถ-ในรถเพราะมันไม่ใช่สิ่งสำคัญ สิ่งสำคัญก็คือช่วงเวลาที่คุณขับรถ พยายามควบคุมสติและสมาธิในช่วงเวลา 32 - 35 นาที ให้ได้ วันก่อนสอบควรออกจะไปออกกำลังกาย shopping ดูหนัง อ่านหนังสือ นอนอืด ให้คลายเครียดที่สุดอย่ากดดันตนเอง ส่วนใหญ่ที่พลาดกันไม่ใช่เพราะว่าอุปสรรคทางด้านภาษา แต่เป็นเพราะ วิตกจริต กดดันตัวเอง เกินไป ถ้าทำได้ชิวๆ ไม่ตั้งความหวัง ในวันสอบมักจะทำได้ดี
วันอังคารที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2559
ใบประเมินการสอบขับ ( La grille d'évaluation de l'examen du permis de conduire)
ตัวอย่าง ใบประเมินการสอบขับรถในประเทศฝรั่งเศส
คะแนนสูงที่สุดคือ 31 คะแนน ผู้สมัครจะต้องได้คะแนนเท่ากับหรือมากกว่า 20 คะแนนขึ้นไป โดยที่จะต้องไม่ติด E หรือ erreurs éliminatoires หรือคือ การปรับตก ผลสอบจะผ่านไม่ผ่าน ดูที่ด้านบนซ้ายมือตรงคำว่า FAVORABLE (ผ่าน) หรือ INSUFFISANT (ไม่ผ่าน) เวลาที่ใช้ในการสอบขับโดยประมาณ 32 นาที
การประเมินหลักๆ แบ่งออกเป็น 3 หัวข้อ
1. Connaître et maîtriser son véhicule ความเข้าใจและความสามารถในการควบคุมรถ 8 คะแนน
1.1 Savoir s’installer et assurer la sécurité à bord 2 คะแนน
สามารถติดตั้งพวกเบาะรถ ปรับพนักเบาะได้อย่างถูกต้อง ตามขั้นตอน อ่านและเข้าใจสัญญานเตือนต่างๆในรถยนต์ ตลอดจนความปลอดภัยของผู้โดยสารในรถ เช่น ต้องดูว่าผู้โดยสารคาดเข็มขัดนิรภัยได้อย่างถูกต้อง สายคาดไม่บิดเกลียว ลมยางเหมาะสม กระจกถูกตำแหน่ง มองเห็นได้ดี
1.2 Effectuer des vérifications des véhicules 3 คะแนน
ก็คือคำถามในรถ 1 คำถาม นอกรถ 1 คำถาม
1.3 Connaître et utiliser les commandes 3 คะแนน
การใช้เพดาน (คัน) รถได้อย่างถูกต้องเหมาะสม เช่น คันเบรค เพดานคลั๊ซ คันเร่ง เช่น ไม่เลี้ยงเพดานคลั๊ซในขณะเข้าวงเวียน ไม่เหยียบคลั๊ซ เมื่อไม่ต้องการให้รถดับ การเข้าเกียร์ให้ถูกต้อง
คะแนนตรงนี้มี 4 อันดับ E,0,1,2,3
2. Appréhender la route มีความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ถนนได้อย่างถูกต้อง 9 คะแนน
2.1 Prendre l’information 3 คะแนน
อ่านข้อมูล เช่น อ่านป้ายจราจรบนถนน ป้ายเส้นทาง
2.2 Adapter son allure aux circonstances 3 คะแนน
การปรับเปลี่ยนความเร็วให้เข้ากับสถานการณ์
2.3 Appliquer la réglementation 3 คะแนน
การปฏิบัติตามกฎจราจร
3.1 Partager la route avec les autres usagers การแบ่งปันถนนกับผู้ใช้ถนนคนอื่นๆ 12 คะแนน
- Communiquer avec les autres usagers 3 คะแนน
การสื่อสารกับผู้ใช้ถนนอื่นๆ เช่น การเปิดไฟเลี้ยว
- Partager la chaussée 3 คะแนน
การแบ่งปันการใช้พื้นถนน
- Maintenir des espaces de sécurité 3 คะแนน
รักษาระยะปลอดภัย
คะแนนตรงนี้มี 4 อันดับ E,0,1,2,3
3.2 l’autonomie et la conscience des risques การพึ่งพาตนเองและความเสี่ยงของเหตุการณ์เฉพาะหน้า 3 คะแนน
- L’analyse des situations การประเมินสถานการณ์ 1 คะแนน
- L’adaptation aux situations การปรับเปลี่ยนต่อสถานการณ์ 1 คะแนน
- Conduite autonome การขับรถโดยพึ่งพาตนเอง 1 คะแนน
รวมทั้งหมด 31 คะแนน
คะแนนสูงที่สุดคือ 31 คะแนน ผู้สมัครจะต้องได้คะแนนเท่ากับหรือมากกว่า 20 คะแนนขึ้นไป โดยที่จะต้องไม่ติด E หรือ erreurs éliminatoires หรือคือ การปรับตก ผลสอบจะผ่านไม่ผ่าน ดูที่ด้านบนซ้ายมือตรงคำว่า FAVORABLE (ผ่าน) หรือ INSUFFISANT (ไม่ผ่าน) เวลาที่ใช้ในการสอบขับโดยประมาณ 32 นาที
การประเมินหลักๆ แบ่งออกเป็น 3 หัวข้อ
1. Connaître et maîtriser son véhicule ความเข้าใจและความสามารถในการควบคุมรถ 8 คะแนน
1.1 Savoir s’installer et assurer la sécurité à bord 2 คะแนน
สามารถติดตั้งพวกเบาะรถ ปรับพนักเบาะได้อย่างถูกต้อง ตามขั้นตอน อ่านและเข้าใจสัญญานเตือนต่างๆในรถยนต์ ตลอดจนความปลอดภัยของผู้โดยสารในรถ เช่น ต้องดูว่าผู้โดยสารคาดเข็มขัดนิรภัยได้อย่างถูกต้อง สายคาดไม่บิดเกลียว ลมยางเหมาะสม กระจกถูกตำแหน่ง มองเห็นได้ดี
1.2 Effectuer des vérifications des véhicules 3 คะแนน
ก็คือคำถามในรถ 1 คำถาม นอกรถ 1 คำถาม
1.3 Connaître et utiliser les commandes 3 คะแนน
การใช้เพดาน (คัน) รถได้อย่างถูกต้องเหมาะสม เช่น คันเบรค เพดานคลั๊ซ คันเร่ง เช่น ไม่เลี้ยงเพดานคลั๊ซในขณะเข้าวงเวียน ไม่เหยียบคลั๊ซ เมื่อไม่ต้องการให้รถดับ การเข้าเกียร์ให้ถูกต้อง
คะแนนตรงนี้มี 4 อันดับ E,0,1,2,3
2. Appréhender la route มีความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ถนนได้อย่างถูกต้อง 9 คะแนน
2.1 Prendre l’information 3 คะแนน
อ่านข้อมูล เช่น อ่านป้ายจราจรบนถนน ป้ายเส้นทาง
2.2 Adapter son allure aux circonstances 3 คะแนน
การปรับเปลี่ยนความเร็วให้เข้ากับสถานการณ์
2.3 Appliquer la réglementation 3 คะแนน
การปฏิบัติตามกฎจราจร
3.1 Partager la route avec les autres usagers การแบ่งปันถนนกับผู้ใช้ถนนคนอื่นๆ 12 คะแนน
- Communiquer avec les autres usagers 3 คะแนน
การสื่อสารกับผู้ใช้ถนนอื่นๆ เช่น การเปิดไฟเลี้ยว
- Partager la chaussée 3 คะแนน
การแบ่งปันการใช้พื้นถนน
- Maintenir des espaces de sécurité 3 คะแนน
รักษาระยะปลอดภัย
คะแนนตรงนี้มี 4 อันดับ E,0,1,2,3
3.2 l’autonomie et la conscience des risques การพึ่งพาตนเองและความเสี่ยงของเหตุการณ์เฉพาะหน้า 3 คะแนน
- L’analyse des situations การประเมินสถานการณ์ 1 คะแนน
- L’adaptation aux situations การปรับเปลี่ยนต่อสถานการณ์ 1 คะแนน
- Conduite autonome การขับรถโดยพึ่งพาตนเอง 1 คะแนน
Les points bonus คะแนนโบนัส 2 คะแนน
1. Courtoisie au volant ก็คือ มารยาทในการใช้รถใช้ถนน 1 คะแนน
รู้ว่าเมื่อไหร่ควรชะลอ ให้ทางรถยนต์คันอื่น หยุดให้คนข้ามถนนในขณะที่คนข้ามถนนกำลังข้ามถนน ถึงแม้ว่า เขาไม่ได้รีบที่จะข้าม แต่ถ้าเป็นกรณีที่เขารอข้ามถนนนอกทางม้าลายหรือไฟแดงสำหรับคนข้าม เราไม่ต้องหยุดรอให้เขาข้าม ไม่งั้นมีโอกาสที่จะติด E แน่นอนยกเว้นในกรณีที่เขาบังคับเราให้หยุดเพื่อให้เขาข้าม แบบนั้นไม่นับเพราะเป็นเหตุสุดวิสัย2. Conduite économique et respectueuse de l'environnement การขับรถโดยประหยัดทั้งเงินทั้งน้ำมัน 1 คะแนน
หลักๆก็คือการทำอย่างไรที่จะใช้น้ำมันให้น้อยที่สุด ความหมายก็คือ ทำอย่างไรที่จะประหยัดเงินในกระเป๋าและปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ CO2 ให้น้อยที่สุด ใช้น้ำมันน้อยที่สุดรวมทั้งหมด 31 คะแนน
วันอังคารที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559
ตารางความเร็วที่ใช้สูงสุดบนถนน
ในเมือง
Agglomération
|
นอกเมือง
ไม่มีรั้วเหล็กกั้นตรงกลาง
(ปกติ 2 เลนสวนทาง)
|
นอกเมือง มีรั้วเหล็กกั้นตรงกลาง
(ปกติ 4 เลน)
les routes à accès réglementé / Voie rapide |
ทางด่วน
Autoroute
|
มือใหม่
Jeune conducteur
|
80
|
100
|
110
|
แดดออก / ครึ้มฟ้าครึ้มฝน
|
90
|
110
|
130
|
ฝนกำลังตก
Il pleut
|
80
|
100
|
110
|
หมอก
Brouillard
|
50
|
50
|
50
|
** ถ้าหากถนนเปียกแต่ฝนไม่ตกให้ใช้ความเร็วแบบปกติที่ถนนแห้ง แต่ในสถานการณ์จริงคุณควรลดความเร็ว***
วันจันทร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559
วงเวียน
วงเวียนมี 2 แบบ คือ
1. Carrefour à sens giratoire
กฎบอกว่า วงเวียนประเภทนี้จะต้องให้ทางรถที่อยู่ในวงเวียนไปก่อน ทฤษฎีบอกว่าวงเวียนประเภทนี้ไม่จำเป็นจะต้องชะลอรถ ไม่จำเป็นต้องมองด้านซ้าย การเปลี่ยนเลนในวงเวียนเพื่อออกจากวงเวียนใช้ไฟเลี้ยวเป็นการสื่อสารระหว่าง กัน แต่ในความเป็นจริงในการขับและการสอบต้องชะลอรถและมองซ้ายไว้เสมอ ให้ทางรถที่มาจากทางซ้าย (รถที่อยู่ในวงเวียน) ไปก่อน หมายความว่า รถที่อยู่ในวงเวียนเป็น priorité พรีโอรีเต้ ดังนั้นรถที่กำลังจะเข้าวงเวียนจะต้องให้ทางกับรถที่อยู่ในวงเวียนไปก่อน
Image : http://inforoutes.loire-atlantique.fr/jcms/regles-de-conduite-pour-emprunter-un-giratoire-fr-p2_7080
ป้ายที่จะต้องเจอในวงเวียน Carrefour à sens giratoire
Image http://eduscol.education.fr/education-securite-routiere/spip.php?article203
2. Rond point
กฎบอกว่า ต้องให้รถที่อยู่ทางขวามือไปก่อน rond point ที่มีชื่อเสียงอยู่ที่ปารีส มีชื่อว่า Place de l'Etoile หมายความว่า รถที่อยู่ในวงเวียนไม่ใช่ priorité พรีโอรีเต้ ดังนั้นรถที่อยู่ในวงเวียนจะต้องให้ทางกับรถที่กำลังจะเข้าวงเวียนไปก่อน ดังนั้น รถที่กำลังจะเข้าวงเวียนเป็น priorité พรีโอรีเต้
Image : http://www.turbo.fr/actualite-automobile/380756-insolite-americains-aiment-ronds-points/
ป้ายที่จะต้องเจอในวงเวียน Rond point
Image : http://longuetraine.fr/?article6/ronds-points
*** สิ่งที่แตกต่างระหว่าง rond point และ Carrefour à sens giratoire คือ rond point จะไม่มีเส้นบนพื้นถนนและป้ายบอกว่าจะต้องให้ทาง***
กฎบอกว่า ต้องให้รถที่อยู่ทางขวามือไปก่อน rond point ที่มีชื่อเสียงอยู่ที่ปารีส มีชื่อว่า Place de l'Etoile หมายความว่า รถที่อยู่ในวงเวียนไม่ใช่ priorité พรีโอรีเต้ ดังนั้นรถที่อยู่ในวงเวียนจะต้องให้ทางกับรถที่กำลังจะเข้าวงเวียนไปก่อน ดังนั้น รถที่กำลังจะเข้าวงเวียนเป็น priorité พรีโอรีเต้
Image : http://www.turbo.fr/actualite-automobile/380756-insolite-americains-aiment-ronds-points/
ป้ายที่จะต้องเจอในวงเวียน Rond point
Image : http://longuetraine.fr/?article6/ronds-points
*** สิ่งที่แตกต่างระหว่าง rond point และ Carrefour à sens giratoire คือ rond point จะไม่มีเส้นบนพื้นถนนและป้ายบอกว่าจะต้องให้ทาง***
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)